ชาวประมง โชคดีจับ "ล็อบสเตอร์สีฟ้า" ที่หายากได้ แต่เขากลับตัดสินใจไม่ขาย !
สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานว่าชาวประมง รายหนึ่งได้โพสต์ภาพผ่าน Facebook ว่าเจ้าล็อบสเตอร์น้ำหนักเกือบ 1 กิโลกรัมตัวนี้ ถูกพบโดยสามีของเธอโดยบังเอิญ ต่อมาพวกเขาได้ให้ชื่อมันว่า บลู (Bleu)
พร้อมประกาศลั่น ว่า เจ้า(บลู) ตัวนี้นั้น จะไม่ไปลงหม้อใครอย่างแน่นอน เพราะ ตนเองนั้นจะนำไป มอบให้กับศูนย์ดูแลสัตว์น้ำโดยไม่คิดเงินแต่อย่างใด
เพราะพวกเขานั้น เห็นความสวยงามของ เจ้า (บลู) อย่างแท้จริงมันสวยงามกว่า ที่จะกลายไปเป็นอาหารของใคร และพวกเขา ก็ยังเชื่ออีกว่า การที่พวกเขานั้นได้ตัดสินใจมอบให้ศูนย์ดูแลนั้นจะทำให้มันมีโอกาสรอดมากกว่าที่จะกลับไปอยู่ในท้องทะเล จากมนุษย์ และจากสัตว์นักล่าอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
เจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์น้ำของศูนย์เองก็ยังประหลาดใจมาก เพราะโอกาสที่จะพบเห็นล็อบสเตอร์สีฟ้า มีเพียงราว 1 ใน 2 ล้านเท่านั้นเอง ไม่ใช่แค่เพราะโอกาสเกิดขึ้นจะน้อยแล้ว จากความผิดปกติของยีนนั้นยังหายากอีกด้วย สีที่โดดเด่นยังทำให้มันตกเป็นเหยื่อได้ง่าย การที่มันรอดมาได้จนมีตัวโตขนาดนี้นับว่าเป็นเรื่องที่หายากมาก ๆ ทั้งนี้ เจนเล่าต่อว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สามีเธอเจอล็อบสเตอร์สีฟ้านี้ แต่เมื่อปี 1990 เขาเคยเจอมันมาแล้วครั้งหนึ่ง ไม่แน่อาจจะเป็นลูกหลานของมัน หรืออาจจะเป็นตัวเดินก็เป็นได้
วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สูตรทำหนอนน้ำหมักชีวภาพ อาหารกุ้งก้ามแดง
สูตรทำหนอนน้ำหมักชีวภาพ อาหารกุ้งก้ามแดง
หนอนน้ำหมักชีวภาพ คือหนอนแมลงวันที่เกิดจากน้ำหมักพืช ผัก ผลไม้สุกในกระบวนการหมักแบบชีวภาพ พบได้กับการหมักน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้เป็นฮอร์โมนในการฉีดพ่นบำรุงพืชผักทั่วไป ลักษณะตัวหนอนจะมีสีขาว ลำตัวกว้างประมาณ 0.5 ซม. บนลำตัวมีขนใสเล็กๆไม่มากนัก ยาวประมาณ 1-2 ซม. วิธีการหมักน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้ได้หนอนจำนวนมากๆเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงไก่พื้นเมือง กบ หรือ ปลาดุก,กุ้งก้ามแดง ให้เกษตรกรเตรียมส่วนผสมและวิธีการทำ ดังนี้
วัสดุ-อุปกรณ์
- ผลไม้สุก เช่น กล้วยน้ำหว้า มะละกอ ขนุนสุกรวมๆกันหรือเท่าที่หาได้ 2 อย่างขึ้นไป 6 กิโลกรัม- น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม
- น้ำเปล่า 20 ลิตร
- ถังหมักขนาด 30 ลิตรมีฝาปิด
วิธีการทำ
- หั่นผลไม้สุกทั้งเปลือกเป็นชิ้นเล็กๆคนคลุกเคล้ากับน้ำตาลทรายแดงในถัง เติมน้ำเปล่าลงไป 20 ลิตรคนให้เข้ากันอีกรอบ ไม่ต้องปิดฝา ตั้งถังทิ้งไว้ใต้ต้นไม้หรือในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก 3 วัน- หลังจากครบ 3 วันให้ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 7 วัน
- หลังจากครบ 7 วันจะเริ่มมีตัวหนอนขึ้นแต่ตัวหนอนยังไม่โตเต็มที่ ให้ปิดฝาแบบหลวมๆ แง้มฝาถังนิดหน่อยให้อากาศสามารถเข้าได้ ทิ้งไว้อีก 7 วัน
- หลังจากครบอีก 7 วัน จะได้ตัวหนอนน้ำหมักตัวอ้วนๆขาวๆ สามารถนำไปเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงเป็ด เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาดุกได้ ตัวหนอนจะเพิ่มปริมาณขึ้นๆทุก 2-3 วัน เกษตรกรควรเลี้ยงหนอนน้ำหมักชีวภาพไว้อย่างน้อย 2 ถังเพื่อสลับถังกันเก็บตัวหนอน ซึ่งจากปริมาณวัตถุดิบที่ใช้หมักดังกล่าวถ้าหมัก 2 ถังจะได้ตัวหนอนทุกๆวันประมาณวันละ 1-2 กิโลกรัม
ข้อแนะนำ
หนอนน้ำหมักจะเกิดขึ้นเองเรื่อยๆและอยู่ได้นานถึง 6 เดือน และเมื่อครบ 6 เดือนให้เติมเพิ่มผลไม้สุกลงไปในถัง 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัมและน้ำเปล่าอีกประมาณ 5 ลิตร คนให้เข้ากันปิดฝาถังหลวมๆทิ้งไว้จะช่วยยืดอายุการผลิตตัวหนอนได้นานอีก 6 เดือนวิธีการนำตัวหนอนน้ำหมักชีวภาพไปใช้
- หากนำไปเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ควรระวังเรื่องน้ำ เพราะการให้อาหารสด น้ำจะเสียเร็วมากกว่าอาหารปกติ- หากเกษตรกรต้องการนำไปเลี้ยงไก่พื้นเมืองหรือเลี้ยงเป็ด ให้นำตัวหนอนสดๆ 1 ส่วน ผสมกับรำอ่อน 1 ส่วน สามารถนำไปเลี้ยงเป็นอาหารมื้อหลักได้เลย
- หากเกษตรกรต้องการนำไปเลี้ยงปลาดุก สามารถนำไปเลี้ยงแบบสดๆโดยไม่ต้องผสมอะไร ให้นำไปหว่านในบ่อเลี้ยงปลาดุกทุกๆเช้า-เย็นได้เลย แต่สามารถเลี้ยงได้เฉพาะปลาดุกที่มีอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
- หากเกษตรกรต้องการนำไปเลี้ยงกบ สามารถนำไปเลี้ยงแบบสดๆได้โดยไม่ต้องผสมอะไร ทุกๆเช้า-เย็น แต่สามารถเลี้ยงได้เฉพาะกบที่มีอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
ประโยชน์ของหนอนน้ำหมักชีวภาพยังมีประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์เนื่องจากหนอนชนิดนี้มีโปรตีนสูง เป็นหนอนที่เกิดจากการหมักจุลินทรีย์ ช่วยให้สัตว์ที่เลี้ยงมีภูมิคุ้มกันโรค มีระบบขับถ่ายที่ดี เจริญเติบโตเร็ว หากนำไปเลี้ยงกุ้งก้ามแดงจะโตเร็ว มีสุขภาพดีอีกด้วยนอกจากนั้นประโยชน์อีกด้านหนึ่ง คือประโยชน์โดยตรงของน้ำหมักชีวภาพดังกล่าว ซึ่งเมื่อหมักครบ 1 เดือน เกษตรกรสามารถนำน้ำหมักไปใช้เป็นฮอร์โมนสำหรับเร่งการเจริญเติบโตของพืชผักได้ ช่วยให้ผักสวนครัวสวยงามต้นอวบใช้ปรับปรุงบำรุงดินได้ โดยใช้ 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบและลำต้น หรือรดลงดิน 10 วันต่อครั้ง
8 โรคและปัญหาในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
8 โรคและปัญหาในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
1. โรคสนิมในส่วนของกุ้งเครฟิชนั้น จะเกิดเป็น ลักษณะคล้ายมีผงสนิมสีน้ำตาลหรือสีทอง เกาะอยู่ตามตัวสัตว์น้ำ โรคนี้นั้นเกิดจากเชื้อโปรโตซัวร์ เกิดจากเชื้อ Piscinoodinium pillularis ช่วงชีวิตหนึ่งซึ่งต้องอาศัยเกาะติดกับสัตว์น้ำ ในฐานะปรสิต อาศัยสัตว์น้ำ สังเคราะห์แสงได้เช่นเดียวกับพืช ทำให้เรามองเห็นปรสิตดังกล่าวเป็นสีน้ำตาล สีทอง หรือสีคล้ายกับสนิม จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า โรคสนิม
มันสามารถดูซับสารอาหาร จากตัวสัตว์น้ำได้ ทำให้เกิดบาดแผล ติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราแทรกซ้อนได้ นำมาซึ่งสาเหตุการตายที่สำคัญของสัตว์น้ำ สัตว์ น้ำป่วยเป็นโรค จะเซื่องซึม ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่กินอาหาร ปัญหาโรคสนิมนี่เกิดได้ ทั้งในปลา และ ในกุ้งครับ นอกจากนี้ ยังมีโรคในกลุ่มของ โรควิบริโอซีส ที่เป็นอันตรายต่อกุ้งเครฟิชได้
อาการ : ตามระยางค์ของกุ้งจะเกิดมีรอยไหม้สีดำเกิดขึ้น จากการที่กุ้งพยายามสร้างเม็ดสี การอักเสบบริเวณตับ ตับอ่อน ตับฝ่อ การกินอาหารลดลงและอาจตายได้ (มีการเกิดระบาดโดยเฉพาะในขณะที่น้ำมีความเค็มสูง = 20-30 ppt.)
สาเหตุของโรค: จากการติดเชื้อวิบริโอ (Vibrio spp.)
การรักษา
1. ใช้สารเคมีกลุ่มไอโอดีน
2. ใช้ยาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ
การป้องกัน
1. ควบคุมปริมาณอาหารที่ให้อยู่ในระดับเหมาะสม
2. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ และควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ผู้เลี้ยงควรจะรักษาคุณภาพของน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากหากว่าคุณภาพน้ำไม่ดี กุ้งจะลอกคราบไม่ผ่าน และโรคสนิมนี้จะลุกลามเร็วมาก มีอัตราการตายสูง
วิธีรักษาเบื้องต้น คือ การถ่ายน้ำและเร่งให้กุ้งลอกคราบออกเสีย จากนั้นจึงตักคราบทิ้งทันที เร่งการลอกคราบทำได้โดยการถ่ายน้ำด้วยน้ำที่มีค่า Alkalinity สูงกว่าอยู่ในตู้ หรือปรับน้ำให้มีค่าอยู่ในช่วงที่จะกระตุ้นได้ ( น้ำจืด 80 – 100 ppm น้ำเค็ม 150 – 200 ppm ) หากยังเป็นโรคนี้ขึ้นมาอีกให้ใช้ยา Chioramphenicol 5-7 MG ผสมอาหาร 1 ขีด ให้กินติดต่อกันจนกว่าจะหาย ( ต้องคำนวณปริมาณยารักษาให้เหมาะสม และถูกต้อง ไม่อย่างนั้น จะเกิดอันตรายต่อกุ้งได้ ) โดยปกติแล้วกุ้งที่มีสุขภาพดี และ คุณภาพน้ำเหมาะสม จะลอกคราบเดือนละ 1 – 2 ครั้ง ขึ้นกับชนิดและวัยของกุ้งด้วย ซึ่งถึงแม้ว่ากุ้งจะไม่ค่อยเป็นโรค แต่ถ้าเป็นแล้วจะรุนแรง และ สูญเสียเร็วมาก จึงต้องมีการเอาใจใส่เป็นอย่างดีครับ การดูแลกุ้งเครฟิชให้มีสุขภาพดี ด้วยระบบน้ำที่สะอาด และ อาหารที่มีคุณภาพ จะช่วยป้องกันให้กุ้งมีโอกาศเป็นโรคนี้ น้อยลง
2. โรคหางพอง
โรคหางพอง เกิดจากน้ําสกปรกครับ ขนาดเปลี่ยนน้ําบ่อย ให้อาหารน้อยๆ น้ํายังเสียได้ วิธีแก้ก็ตัดตรงส่วนที่พองออก แล้วก็นํากุ้งไปแช่น้ําเกลือ 10-15 นาที พอกุ้งลอกคราบก็จะกลับมาปกติเหมือนเดิม
3. ปัญหากุ้งกินกันเอง
ควรที่จะมีที่หลบให้กุ้งมากๆ ซึ้งเวลาที่กุ้งลอกคราบ กุ้งจะนอนนิ่งถ้าหากไม่มีที่หลบอาจจะโดนกุ้งตัวอื่นจับกินได้
***ถ้าหากกุ้งตายหรือโดนกินจะสังเกตได้จากเม็ดแคลเซียมสีขาวๆที่ตกอยู่ในบ่อโดย 1 ตัว จะมี 2 เม็ดซึ่งสามารถเดาได้เลยว่ากุ้งของเรากินกันไปกี่ตัว ยิ่งเม็ดใหญ่เท่าไหร่แสดงว่ากุ้งที่โดนกินก็ใหญ่เท่านั้น
4. กุ้งนักปีนป่าย
จากลักษณะของขากุ้งที่เป็นขาที่สามารถคีบได้ จึงทําให้กุ้งสามารถปินป้ายสิ่งต่างๆได้ดีเลยทีเดียว เลยต้องป้องกันด้วยการปิดฝา หรือ ล้อมตาข่ายดักกุ้งไว้ เพื่อที่กุ้งจะได้ ออกไปหนีเที่ยวไม่ได้
5. ปัญหาลูกกุ้งน็อคน้ำ
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยมากในช่วงฤดูฝนสําหรับผู้ที่เลี้ยงกุ้งกลางแจ้ง ทําให้น้ําฝนตกลงไปในบ่อกุ้ง สาเหตุของกุ้งน็อคน้ําเกิดจาก น้ําในบ่อเดิมมีน้อยกว่าน้ําฝนที่เติมลงไป ทําให้กุ้งปรับสภาพไม่ทันน็อคน้ําตายไปในที่สุด
วิธีป้องกัน
- ควรเปิดปั้มมลมแรงๆเพื่อที่จะให้ของเสียที่มากับน้ําฝนแตกตัวออกไป แล้วโมเลกุลของน้ําไปจับกับอ๊อกซิเจนแทน
- ควรมีผ้ายาง หรือ ผ้าใบพลาสติกปิดไว้บ้างเพื่อที่จะลดปริมาณการเพิ่มของน้ําอย่างรวดเร็ว จนกุ้งปรับตัวไม่ทัน
- ควรใส่พื้นน้ําลงไปในบ่อเลี้ยงกุ้งด้วย เพื่อช่วยดูดซับของเสียที่มาจากน้ําฝนแล้วก็ลดแรงกระแทก ขณะฝนตกลงสู้ผิวน้ํา น้ําจะได้ไม่เคลื่อนไหวเร็วเกินไป
6.ปัญหาแม่กุ้งสลัดไข่
อาจเกิดจากแม่กุ้งคิดว่าไม่ปลอดภัยเลยสลัดไข่ทิ้ง ซึ้งเกิดจาก น้ําไม่สะอาด มีสิ่งรบกวน เช่นกุ้งตัวอื่น แสงที่มากไป เสียงดังไป ควรที่จะจับแยกแม่ไข่ไว้ตัวเดียวในตะกร้า หรือกะละมัง เพื่อที่จะไม่ให้กุ้งตัวอื่นมารบกวน ในขณะที่แม่กุ้งไข่ถ้าไม่จับแยก ก็ไม่ควรเปลี่ยนน้ํา เพราะถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนกะทันหันแม่กุ้งอาจสลัดไข่ทิ้งได้ อาหารควรให้วันละ 2-3 เม็ดก็พอ
7. ปัญญหากุ้งลอกคราบไม่ออก
การลอกคราบไม่ผ่านนั้น อาจเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ํามากเกินไป และอาจเกิดจากตัวกุ้งสะสมสารอาหารไม่เพียงพอ นอกจากอาหารเม็ดสําเร็จรูปแล้ว ก็ควรมีอาหารเสริมให้กุ้งด้วย เพื่อเพิ่มสารอาหารให้กุ้งอีกทางหนึ่ง
8. รับมือเหตุฉุกเฉินยามไฟดับหรือปั้มลมดับ
(ลายมือไม่สวยแค่มองภาพออกก็พอน่ะครับ)
เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยสําหรับ ท่านใดที่เลี้ยงกุ้งด้วยปั้มลม หากเกิดเหตุฉุกเฉินไฟดับ หรือปั้มลมดับให้ใช้ตะกร้าคว้ํา หรือ สแลน ตะข่ายสีฟ้า ก็ได้ มาไว้ในบ่อ เพื่อยามฉุกเฉินให้กุ้งได้ปินขึ้นมาหายใจ
Cr : crayfishfarmth.blogspot.com
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559
กุ้ง Murray crayfish กุ้งสายพันธุ์ออสเตรเลีย หน้าตามันดุดีแถมตัวใหญ่ ถ้าบ้านเรามีตามคลองล่ะก็
กุ้ง Murray crayfish กุ้งสายพันธุ์ออสเตรเลีย หน้าตามันดุดีแถมตัวใหญ่ ถ้าบ้านเรามีตามคลองล่ะก็
Cr : THQ07358
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559
การดูแล "กุ้งก้ามแดง" ในหน้าหนาว
การดูแล "กุ้งก้ามแดง" ในหน้าหนาว
ซึ่งในตอนนี้นั้นอากาศได้เริ่มเย็นในแต่ภาคของประเทศไทยแล้วในช่วงนี้ ซึ่งก็ได้มี ผู้เลี้ยง กุ้งก้ามแดง จำนวนมากที่ อาจจะวิตกกังวลกัน
ว่าจะเลี้ยงจะให้อาหารจะเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างไร ที่ "ศูนย์เรียนรู้ กุ้งก้ามแดง Yabby House" นั้นได้ผ่านการเลี้ยงกุ้งจำนวนมากและก็เจอปัญหานี่เหมือนกัน
ปี2554 เดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม อุณหภูมิ ลดลง 18 องศา และผู้เพาะพันธุ์ที่อยู่เชียงราย เชียงใหม่
น่านในภาคเหนือ หนองคาย อุบลราชธานี และอีกหลายจังหวัดในภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ หนาวน้อยหนาวมาก อาจจะเหลือ0-5องศา
เก็บข้อมูลที่เลี้ยงจากปี2554 มาดำเนินการเลี้ยงในหน้าหนาว จนถึงปัจจุบัน อากาศหนาวสัตว์น้ำจะไม่ค่อยกินอาหาร
นอกจากสัตว์น้ำที่อยู่ในเขตหนาวเย็น สามารถอยู่ได้แต่ไม่กินอาหาร
จากการศึกษาข้อมูล กุ้งก้ามแดงอยู่ในอากาศเย็นในออสเตรเลีย
ในหน้าหนาวเหมือนกัน ดังนั้นไม่มีปัญหาในการเลี้ยงในหน้าหนาว
ส่วนเรื่องการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ก็เปลี่ยนปกติถึงเวลาเปลี่ยนก็เปลี่ยน
กุ้งชอบแต่คนเปลี่ยนถ่ายน้ำในหน้าหนาวอาจจะไม่ชอบ น้ำจะเย็นมากๆ
ส่วนเรื่องการให้อาหาร ที่ศูนย์ให้อาหารเม็ดจมเทอร์โบโปรตีน
มา2ปีแล้ว ผ่านหนาวมา 2 ปี กุ้งกินได้กินดี ลอกคราบ และผสมพันธุ์
วิธีง่ายๆในการเลี้ยงในหน้าหนาว เอาผ้าใบมาคลุมบ่อเลี้ยงทุกบ่อ
ที่เลี้ยงในโรงเรือนและที่เลี้ยงในบริเวณบ้าน ไม่ให้ลมลงไปในบ่อเลี้ยง
กุ้งที่ศูนย์ ใส่อาหารเทอร์โบโปรตีน ลงไปก็ออกมากินทุกครั้งไป
--------------------------
ขอบคุณข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ อย่าง "ศูนย์เรียนรู้ กุ้งก้ามแดง Yabby House"
เค กุ้งก้ามแดง ,Nat Yabby House
ศูนย์เรียนรู้กุ้งก้ามแดง Yabby House รังสิต บ้านสวนปาล์ม
(ฝั่งตรงข้าม ม.กรุงเทพ) โทร.087-0352033 093-0061220
ถ่ายน้ำ หรือ ไม่ถ่ายดีระหว่างที่แม่กุ้งตั้งท้อง ?
ถ่ายน้ำ หรือ ไม่ถ่ายดีระหว่างที่แม่ กุ้งตั้งท้อง ?
ระหว่างแม่กุ้งอุ้มท้อง หรือ มีไข่เพื่อรอพัฒนา และลงเดินไม่ควรถ่ายน้ำ หรือทำอะไรกับเค้ากลางคันโด
"สรุป"คือ ไม่ควรถ่ายน้ำระหว่างแม่กุ้
กรณีนี้พูดถึงระหว่างอุ้มท้
"การให้อาหารแม่กุ้งไข่"
แม่กุ้งระหว่างอุ้มท้อง หรือไข่ สำหรับช่วงนี้จะไม่ให้อาหาร
ถ้าไข่หลุดพอเอามาเป่าช่วยช
สาเหตุที่ไม่ให้อาหารแม่กุ้
กุ้งสะสมอาหารเพียงพอและถึง
บางตัวที่ไม่ลอกคราบไข่ก็เห
ระหว่างที่แม้กุ้งอุ้มท้อง เราจะไม่สามารถถ่ายน้ำได้คร
>>อย่ารบกวนเค้าเป็นดีที่สุ ด<<
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งก้ามแดง และเครฟิช อินเตอร์เนชั่นแนล
วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559
คำถามยอดฮิต ของมือใหม่ เกี่ยวกับกุ้งก้ามแดง !
คำถามยอดฮิต ของมือใหม่ เกี่ยวกับกุ้งก้ามแดง !
- ได้ครับ แต่ทั้งนี้ต้องดูขนาดตู้ หากขนาดตู้เล็กควรแบ่งตู้ออกเป็นช่องๆและเลี้ยงแยกเป็นตัวๆ หรือควรมีที่หลบซ่อนเยอะ เพื่อป้องกันครับ
2. ที่อยุ่ ในตู้เค้าใส่น้ำเต็มเหมือนเลี้ยงปลาแต่เหมือนเค้าจะเกาะออกซิเจนจะขึ้นมาเหนือน้ำบ้างอ่ะค่ะ ควรลดน้ำและเอาหินมาให้เค้าเกาะขึ้นมาหายใจเหมือนพวกตะพาบหรือป่าวคะ
- น้ำที่ใส่ขนาดไหนก็ได้ครับ ตามแต่ชอบ แต่ควรมีออกซิเจนให้มันด้วย กุ้งมันไม่ค่อยจะโพล่ขึ้นมาผิวน้ำเหมือนตะพาบครับ เพราะมันอาจแห้ง
ตายได้ และที่สำคัญระวังสายหรือท่ออะไรก็ตามที่ต่อออกนอกตู้ เพราะกุ้งชอบปีนป่าย มันอาจเดินมาแห้งตายนอกตู้ได้บ่อยๆ
3. เค้าผสมพันกธกันแล้วจะท้องไหม ท้องกีวัน กีเดือน แล้วลูกหรือไข่มีลักษณะอย่างไร แล้วถ้าท้องต้องแยกหรืออะไรยังไงบ้างคะ
- ท้องแน่นอน และลูกออกมาเป็นร้อย วิธีคือ แยกตัวอื่นออกให้หมด(ไม่ควรแยกตัวท้องออก เพราะมันอาจสลัดไข่ได้)
4. เค้ากินอะไรได้อีกนอกจากอาหารเม็ด อาหารจมน้ำอย่างเช่นอะไรคะ - -*
- กินได้ทุกอย่างทั้งพืชและสัตว์ และเอาแครอทให้กินเพื่อเร่งสีได้ครับ
5. ที่ผสมกันเค้าคนละสีอ่ะค่ะจะเป็นไรไหม
- ในกรณีนี้เมื่อกุ้งต่างสีกัน ลูกที่ออกมาจะไม่ใช่พันธุ์แท้สีจะออกมาไม่แน่นอนมั่วไปเรื่อย
6. น้ำเค้าขุ่น ๆ อ่ะค่ะจะเปลี่ยนน้ำได้ไหม ไม่กล้าเปลี่ยนเพราะไอฟอง ๆ ที่ลอยติดขอบ และไม่กล้าจับกุ้งด้วยค่ะ อีกอย่างสีหินเค้าเลือกสีขาวมา
เราก็ไม่เข้าใจทไมเลือกหินสีขาวมันทำให้ดูสกปรก จริง ๆ เราอยากให้หินสีดำเห็นเวลาเค้าใส่ตามตู้ปลาสวยดี หรือว่าสีขาวดีแล้วอันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ
6.1 เน้นเป็นถ่ายน้ำออก 30%และเติมใหม่ ทุกๆ5-7 วัน เป็นการดูดสิ่งสกปรกออกจากตู้ครับ
6.2 หากไม่กล้าจับกุ้งให้ซื้อสวิงมาตักครับ
6.3 จะเปลี่ยนหินผมว่ารอจนกว่ากุ้งจะออกไข่ดีกว่าครับ เลี้ยงเครฟิชหินนิลดำดูดีสุดครับ สีกุ้งจะเข้มขึ้น
7. เค้าเลี้ยงรวมกับอะไรได้บ้างคะ เอาพวกหินต้นไม้อะไรมาตกแต่งได้บ้าง
- ไม่แนะนำให้เลี้ยงรวมอะไรทั้งสิ้น เพราะมันจะกินจะแทะหมด ลงหิน, กิ่งไม้, ขอนไม้หรือกระถางดินเผาให้มันหลบดีกว่าครับ
8. ถ้าจะเลี้ยงให้เค้าเชื่องแแบบเอามาจับเล่นได้ด้วยไหมคะ ต้องทำยังไง
- มันไม่เชื่องหรอกครับ แต่วิธีจับก็ไม่ยากอะไรมาก จับตรงระหว่างหัวกับตัวมันครับ มันจะไม่สามารถหนีบเราได้
ปล. กุ้งที่เลี้ยงด้วยกันควรตัวเท่ากัน เพราะไม่งั้นตัวที่เล็กกว่าจะโดนตัวใหญ่กว่ากินครับ (ถ้าใหญ่กว่าแค่ก้ามไม่เป็นไร ตัวผู้จะก้ามใหญ่)
มือใหม่ควรรู้!!! รวมสาระน่ารู้เบื้องต้น เกี่ยวกับกุ้งก้ามแดง
มือใหม่ควรรู้!!! รวมสาระน่ารู้เบื้องต้น เกี่ยวกับกุ้งก้ามแดง
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
7 สาเหตุหลักการ ตายของ "กุ้งก้ามแดง" หรือ "เครฟิชที่" พบบ่อย
7 สาเหตุหลักการ ตายของ "กุ้งก้ามแดง" หรือ "เครฟิชที่" พบบ่อย
1. แก่ตาย อายุมากแล้ว (หมดอายุไข)
2. ดูแลเรื่องน้ำไม่ดี ไม่ค่อยเปลี่ยนถ่ายน้ำ น้ำจะเสีย มีกลิ่นเหม็น
3. ลอกคราบไม่ผ่าน ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น สะสมอาหารไม่เพียงพอ ลอกคราบไม่ผ่านเพราะก่อนกุ้งจะลอกคราบมีการเปลี่ยนน้ำ ลอกคราบไม่ผ่านเพราะเป็นโรคสนิม หรือบางครั้งลอกคราบผ่านแต่ก็ตายเพราะหมดแรง เนื่องจากไม่มีออกซิเจน หรือลอกคราบผ่านแล้ว แต่ไม่ได้แยกไว้ จึงโดนกุ้งตัวอื่นทำร้ายหรือกัดกิน
4. ใส่อาหารมากเกินไป จนทำให้น้ำเสีย กุ้งน็อคแล้วก็ตาย โดยเฉพาะลูกกุ้ง หากใส่อาหารมากเกินไป น้ำจะเสียเร็ว
5. ด้วยความซ่าของตัวกุ้ง บางตัวอาจปีนหนีออกนอกตู้หรือวัสดุเลี้ยงอื่นๆ จนแห้งตายหรือโดนทำร้ายจากสัตว์อื่น
6. เลี้ยงกุ้งตัวเล็กรวมกับตัวใหญ่ จนโดนตัวใหญ่กิน
7. โดนยาฆ่าแมลง ยาฉีดยุง ยาฉีดปลวก โลชั่นทามือทาแขน เส้นผมที่มียาย้อมผม เส้นผมที่มีเจลแต่งผม ยาทาเล็บ มือเปื้อนน้ำมันหรือจับอะไรมาแล้วไปโดนน้ำในตู้กุ้ง ดังนั้นก่อนให้อาหารกุ้งหรือจับกุ้งในวัสดุเลี้ยง ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง เพราะหากกุ้งสัมผัสสารเคมี ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต
Cr: crayfishfarmth.blogspot
วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559
สำหรับมือใหม่แล้วอยากทราบวิธีการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
สำหรับมือใหม่แล้วอยากทราบวิธีการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง
สิ่งที่มือใหม่ทุกคนต้องรู้เกี่ยวกับ "กุ้งก้ามแดง" เป็นกุ้งชนิดแรกที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงทดลองเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร เพราะเป้นกุ้งที่มีการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วและมีขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นคือ มีขนาดใหญ่และสีของกุ้งมีการเปลี่ยนแปลงตลอด แต่สีที่พบมากที่สุดคือ สีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน ซึ่งคนไทยจะเรียกว่า บลู ล็อปเตอร์ บางที่ก็เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามแล้วนำจำหน่ายได้ในราคาสูง
การเริ่มต้นเลี้ยงกุ้งก้ามแดง แบบเลี้ยงเพื่อเศรษฐกิจ จะต้องทำอย่างไรบ้าง
1. การเตรียมน้ำ ต้องเตรียมน้ำ ยกตัวอย่างเลี้ยงในตู้ 24 นิ้ว ใส่น้ำประมาณ 50 ลิตร เติมเกลือแกงไปประมาณ 2-4 ช้อนโต๊ะ เปิด ออกซเจนทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง ไม่ต้องใส่น้ำยาลดคลอรีน ก่อนนำกุ้งลงตู้ให้เอาถุงใส่กุ้งลอยน้ำทิ้งไว้ 15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิให้กับกุ้ง
** กรณีเลี้ยงบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก ใส่น้ำความสูง 30-40 เซนติเมตร เติมเกลือ อัตราน้ำ 1000 ลิตร ต่อ
1 กิโลกรัม ปั๊มออกซิเจน หรือใบพัดปั่นน้ำ ในบ่อทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง ค่อยนำกุ้งลง แล้วแต่ ขนาดของบ่อ **
2. ปรับอุณหภูมิการเลี้ยงไว้ที่ 20-30 องศาเซลเซียส
3. สังเกตการลอกราบของกุ้ง ซึ่งช่วงเวลานี้กุ้งจะบอบบางและอ่อนแอมาก จะสังเกตอย่างไร แบ่งออกเป็นข้อๆได้ตามนี้ครับ
- - ปริมาณการกินอาหารน้อยลง
- - รอยต่อของลำตัวจะเปิด
- - จับดูที่เปลือกหัวจะนุ่มนิ่มแสดงว่าใกล้ลอกคราบ
- - แต่ถ้าห้วเปิดแล้วตัวยังแข็งอยู่แสดงว่ายังไม่ลอกคราบ อาจจะเกิดจากการที่กุ้งกินอาหารมากเกินไป ทำให้เปลือกบริเวฯรอยต่อยกขึ้นเหมือนลอกคราบ
4. การถ่ายน้ำในกรณีเลี้ยงตู้ควรถ่ายทุกๆ 7-10 วัน ** ส่วนบ่อดิน บ่อผ้าใบพลาสติก สูบน้ำเก่าออกเติมน้ำใหม่เข้า ทุก 2 สัปดาห์ ** ไม่ควรเปลี่ยนน้ำทิ้งทั้งหมด จะทำให้กุ้ง น็อคน้ำได้
5. อาหาร สำหรับกุ้งชนิดนี้กินได้ทั้งพืชและสัตว์และอาหารเม็ด ยกตัวอย่างอาหารของกุ้งก้ามใหญ่ เช่น สาหร่ายหางกระรอก แครอท และพืชน้ำอื่นๆ ประเภทเนื้อสัตว์จะเป็นพวก กุ้งฝอยต้ม เนื้อปลาตัวเล็กๆ *หนอนแดง กรณีเลี้ยงในตู้หรือ บ่อพลาสติก*
6. การเพาะพันธุ์ กุ้งก้ามใหญ่ จะเริ่มผสมพันธุ์ที่ขนาดประมาณ 3 นิ้วขึ้นไป ( ขึ้นอยู่กับความสมบูรณื และสายพันธุ์ ) หลังจากผสมแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาใต้หาง และใช้เวลา 30 วันลูกจะเป็นตัวแล้วจะลงดิน อัตตราการผสม ตัวผู้ 1 ตัว ต่อ ตัว เมีย 3 ตัว
ขอบคุณรูปจาก : สุราเทพ เทพสุรา
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559
วิธีการเตรียมบ่อของ "กุ้งก้ามแดง"
วิธีการเตรียมบ่อของ "กุ้งก้ามแดง"
สำหรับมือใหม่ที่มีความต้องการที่จะเลี้ยง "กุ้งก้ามแดง" นั้นมีสิ่งที่ต้องควรรู้อยู่หลักๆ ดังนี้
เรื่อง "น้ำ"ที่จะใช้เลี้ยง "กุ้งก้ามแดง" เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงมือใหม่ทุกคนนั้นต้องใส่ใจลงไปอย่างมาก เลยและต้องรู้ ด้วยว่า จะสามารถใช้น้ำอะไรในการเลี้ยง "กุ้งก้ามแดง" ได้บ้าง เช่น
น้ำดื่ม น้ำบาดาล น้ำประปา แต่ถ้าเป็นน้ำประปานั้น ควรที่จะมีการพักน้ำเอาไว้ 3-4 วัน เพราะ "กุ้งก้ามแดง" นั้นเป็นกุ้งที่มีความไวต่อสารเคมี เป็นอย่างมาก ถ้าเกิดมีสารเคมีเพียงแค่น้อยนิดก็ จะทำให้ "กุ้งก้ามแดง" ตายได้ ดังนั้นต้องมีการศึกษา ให้ดีก่อนที่จะเลี้ยง "กุ้งก้ามแดง"
สำหรับสถานที่เลี้ยงกุ้ง "กุ้งก้ามแดง" นั้น สามารถเลี้ยงได้ใน บ่อดิน บ่อปูน กะละมัง ถัง ตู้กระจก บ่อผ้าใบ บ่อพลาสติก หรือแม้ในกระทั้ง ในขวด ก็สามารถที่จะเลี้ยง เอาไว้ได้ทุกที ขึ้นอยู่กับ พื้นทีของแต่ละท่านนั่นเอง
1.ขั้นตอน ในการเลี้ยง "บ่อดิน" นั้นจำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก ดังนั้นจึงต้องมีการที่จะเตรียม บ่อให้มีความพร้อม ก่อนที่จะปล่อยกุ้งลงบ่อได้ ซึ่งก็จะมีวิธีดังนี้
- ขั้นตอนแรก ควรที่จะมีการกำจัดศัตรูของลูกกุ้งก่อน เป็นอันดับแรก เช่น พวก ปลา ปู หอย ฯลฯ เพราะถ้าไม่อย่างนั้นจะทำให้ ลูกกุ้ง โดนกินได้
- ขั้นตอนสอง ทำการปูขอบบ่อด้วยพลาสติกกันน้ำกัดเซาะ
- ขั้นตอนสาม ล้มขอบบ่อด้วยตาข่ายเพื่อกันกุ้งหนีออกจากบ่อ
- ขั้นตอนที่สี่ ใส่พวกสถานที่หลบซ่อนให้กับ กุ้ง ควรที่จะมีที่หลบซ่อน อย่างน้อย 80-90% ของจำนวน "กุ้งก้ามแดง" ทั้งหมด หรือ ยิ่ง มีเยอะ ยิ่งดี
- ขั้นตอนที่ห้า พร้อมปล่อยน้ำเข้าไปในบ่อและพักน้ำไว้ประมาณ 1-2 วัน
- ขั้นตอนที่หก คอยตรวจเช็คสภาพน้ำอยู่ตลอดเวลา เพราะบ่อ ดินนั้นไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ สามารถเลี้ยง ไปเรื้อยๆ จนสามารถจับจำหน่ายได้เลยทันที แต่ต้องมีการเติมน้ำเข้าไปอยู่ตลอดเวลา เพราะ มีการระเหยของน้ำ
2.ขั้นตอนในการเลี้ยง "บ่อปูน" ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เพราะทนทานใช้พื้นที่ไม่มากนักง่ายต่อการ ที่จะเก็บผลผลิต แต่วิธีการเตรียมบ่อก่อนเลี้ยง "กุ้งก้ามแดง" อาจจะใช้ระยะเวลานานพอสมควร เนื่องจากปูนมีฤทธิ์เป็นด้างแก่ จึงไม่เหมาะสมกับ กับการเลี้ยง "กุ้งก้ามแดง" มากนัก
- ขั้นตอนแรก ควรที่จะปิดรอยรั่วบริเวณข้อต่อ ให้หมดก่อน
- ขั้นตอนสอง เติมน้ำลงไปในบ่อดิน และ พักน้ำเอาไว้ ก่อนประมาณ 5-6 วัน
- ขั้นตอนสาม หลังจาก พักน้ำเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาตรวจดู ความสะอาดของน้ำ หากน้ำสะอาดใส แล้ว สามารถปล่อยกุ้งลงบ่อได้เลย สำหรับ "บ่อปูน" นั้น มีความเป็นด่างสูง ต้องเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกๆ 10 วัน ควรที่จะมีน้ำพักบ่อ สำรองเอาไว้ในการปรับเปลี่ยนน้ำ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)